วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2557

การลงทุนในกองทุน LTF (วิธีซื้อแบบถัวเฉลี่ย)


แนะนำหุ้นกันไปบ้างแล้ว ก็เลือกชิมกันเอาเองว่าหุ้นตัวไหนดี ถูกใจ ราคาเหมาะสม สามารถลงทุนได้ ซึ่งแน่นอนว่าในบทความต่อๆไปก็ยังคงมีการแนะนำหุ้นที่น่าสนใจอีกหลายตัวและอีกหลายกลุ่มอย่างแน่นอน ส่วนสำหรับบทความนี้ ขอเปลี่ยนบรรยากาศมาดูการลงทุนแบบอื่นบ้าง

สำหรับนักลงทุนที่กังวลเกี่ยวกับการลงทุนหุ้น ลองศึกษากองทุนที่ลงทุนในหุ้นบ้างก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นผู้มีรายได้ ต้องเสียภาษีเงินได้ปีละมากๆ จะใช้วิธีลดหย่อนภาษีโดยซื้อกองทุน LTF ซึ่งลงทุนในหุ้นอย่างน้อย 60%

การลงทุน เราอาจจะใช้วิธีซื้อหน่วยลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน หรือ Dollar Cost Average (DCA)

กองทุน LTF ทุกกองทุนจะลงทุนในหุ้นพื้นฐานดี แต่ก็มีความเสี่ยง ถ้าท่านสามารถรับความเสี่ยงได้ (ถือกองทุน 5 ปีปฏิทิน ก็สามารถขายได้แล้ว) เช่น ซื้อเดือนธันวาคม 2555 พอถึงมกราคม 2559 ก็สามารถขายได้แล้ว จึงเป็นการลงทุนอีกแบบหนึ่ง สำหรับท่านที่ต้องการเก็บออมเงินไว้ใช้ในอนาคตและนำไปลดหย่อนภาษีได้

ทีนี้ลองมาเปรียบเทียบดูระหว่างการซื้อถัวเฉลี่ยกับการซื้อครั้งเดียวตอนปลายปี

 ซื้อถัวเฉลี่ยด้วยเงินเท่าๆกันทุกเดือน 10 ครั้ง เช่น


 ในปีที่ 1 ราคาเป็นดังต่อไปนี้

25.18+24.28+23.92+24.11+26.33+26.17+28.41+29.79+29.30+31.96 = 269.45

นำ 10 ไปหาร เป็นต้นทุน หน่วยละ 26.945 บาท

ซึ่งในปีที่ 1 ถ้าเราซื้อครั้งเดียวปลายปี ต้นทุนหน่วยละ 31.96 บาท

 

ในปีที่ 2 ราคาเป็นดังต่อไปนี้

33.44+35.51+36.88+37.19+36.38+35.08+33.84+32.10+31.96+33.75 = 346.13

หารด้วย 10 จะได้ต้นทุนหน่วยละ 34.613 บาท

ซึ่งในปีที่ 2 ถ้าซื้อครั้งเดียวตอนปลายปี ต้นทุนหน่วยละ 33.75 บาท

 

จากข้อมูล จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่หุ้นตอนปลายปีจะราคาสูง การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย จะมีต้นทุนถูกกว่าการซื้อครั้งเดียวตอนปลายปี

ปีที่ 1 หุ้นขึ้นจากต้นปีถึงปลายปี ต้นทุนราคาต่อหน่วยต่างกันมาก

ปีที่ 2 หุ้นปลายปีตก แต่ราคาไม่ต่างกันมาก เพราะการซื้อแบบถัวเฉลี่ย ทำให้ราคาต่างกันเพียงเล็กน้อย

ดังนั้น การซื้อแบบถัวเฉลี่ยจึงเป็นราคาที่ยุติธรรมสำหรับตัวเรา ไม่สูง และไม่ต่ำจนเกินไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น